Header Ads

สธ.เดินหน้าคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี/ซี หวังลดอัตราเสียชีวิตจากมะเร็งตับให้ได้มากที่สุด

1724137821726_copy_1024x683
สธ.เดินหน้าคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี/ซี ให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง หลังทำได้ทะลุเป้าแล้ว 1.8 ล้านคน มุ่งหวังลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับให้ได้มากที่สุด


เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 กระทรวงสาธารณสุขประกาศผลสำเร็จการคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและ ซี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้เกินเป้าหมาย 1.8 ล้านคนทั้งสองโรค ตั้งเป้าคัดกรองต่อเนื่องให้ได้ 42 ล้านคนในปี 2573 ชี้หากนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาได้ครบ จะลดอัตราการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้มากกว่า 5,000 คน ต่อปีและลดการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวได้ถึง 1,600 คนต่อปี
1724137673548_copy_1024x683นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นประธานในการเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานการกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ และนายแพทย์นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค รวมทั้งคณะผู้บริหารและเครือข่ายดำเนินงานทั่วประเทศกว่า 200 คน เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ พร้อมกันนี้ได้มีพิธีมอบประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานดีเด่นในการดำเนินงานด้านโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน


นายแพทย์กิตติศักดิ์ กล่าวว่า โรคไวรัสตับอักเสบบี และ ซี ขึ้นชื่อว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับนานาชาติรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ สำหรับในประเทศไทยถือเป็นโรคอันดับหนึ่งในผู้ชาย และเป็นอันดับ 4 ในผู้หญิง องค์การอนามัยโลกและประเทศสมาชิกจึงเห็นชอบในการกำจัดโรคดังกล่าวให้สำเร็จภายในปี 2573 ซึ่งการเดินหน้าคัดกรองกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะซึ่งก็คือผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบซี หากพบว่ามีการติดเชื้อแล้วสามารถให้ยาและรักษาให้หายขาดได้ ภายในเวลาประมาณ 3 เดือน ในส่วนของค่ารักษาตัวยาของไวรัสตับอักเสบบี ก็อยู่ในสิทธิประโยชน์ทุกกองทุน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม หรือกองทุนของกรมบัญชีกลางซึ่งจะช่วยผู้ป่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงลดโอกาสในการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคต
1724137686165_copy_1024x683ทางด้านนายแพทย์นิติ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 จะมีอัตราความชุกในการเกิดไวรัสตับอักเสบ บี คือร้อยละ 4 ส่วนผู้ที่เกิดหลังจาก พ.ศ. 2535 จะมีการฉีดวัคซีนในเด็กทุกคนแล้ว ความชุกก็จะเหลือร้อยละ 0.6 ส่วนเรื่องของตับอักเสบ ซี มีความชุกอยู่ที่ร้อยละ 1 คาดการณ์ว่ามีประมาณ 5 แสนถึง 7 แสนคนที่เป็นตับอักเสบซี ซึ่งใน 4 ปีที่ผ่านมาเราได้ทำการรักษาไปแล้วกว่า 4 หมื่นคน
1724137679636_copy_1024x683
โครงการนี้เป็นโครงการที่กระทรวงสาธารณสุขทำมาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่ช่วงหลังนั้นได้มีการเข้าสู่สิทธิประโยชน์ เราก็มีการประชาสัมพันธ์เปิดตัวในทุกๆ ภาคส่วนของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง และไปใช้สิทธิในการตรวจคัดกรอง ในปี 2567 เป้าหมาย 1 ล้านคน ตอนนี้ตรวจคัดกรองได้ไป 1.8 ล้าน ก็ถือว่าทุกคนให้การร่วมมือกันอย่างดี เมื่อผลการคัดกรองเกินเป้าในอนาคตเราคาดหวังตัวเลขมากถึง 10 ล้านคน ฉะนั้นเรามุ่งหวังว่ากลุ่มเป้าหมายประมาณ 40 ล้านคนเศษ ควรได้รับการคัดกรองด้วยสิทธิประโยชน์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อยู่แล้ว
1724137626754_copy_1024x683

1724137590113_copy_800x464
1724137605714_copy_800x533“สำหรับผู้ที่เกิดก่อนปี 2535 หรือกลุ่มเสี่ยง สนใจเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคตับอักเสบ บี และ ซี เพียงท่านนำบัตรประชาชนไปติดต่อที่สถานพยาบาลใกล้บ้านท่านก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรี 1 ครั้งตลอดช่วงชีวิต หากพบว่ามีการติดเชื้อก็สามารถรักษาได้ตามสิทธิประโยชน์ทุกกองทุน และข้อดีของการได้ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่ คือสามารถรักษาได้ทันท่วงทีและรักษาให้หายขาดได้ ก่อนจะลุกลามลายไปเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต” นายแพทย์นิติกล่าวทิ้งท้าย


1724137635511_copy_1024x683นอกจากนี้ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิด “We’re not waiting : HBV & HBC ตรวจเลย รอไม่ได้ เข้าถึงง่ายด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องโรคไวรัสตับอักเสบ และเวทีอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ วิธีการ และปัจจัยการสนับสนุนที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จในการตรวจคัดกรองของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบได้อย่างต่อเนื่อง
1724137643307_copy_1024x683


No comments

Powered by Blogger.