Header Ads

ไทย-UK แถลงผลความสำเร็จ 3 โครงการร่วมวิจัย ชีวเวชภัณฑ์ วัคซีนสำหรับสัตว์ สาหร่ายเซลล์เดียว

01-%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-UKไทย-UK โดย ไบโอเทค มจธ. และ ม.เคนท์ ม.คอลเลจลอนดอน แถลงผลความสำเร็จ 3 โครงการร่วมวิจัย ทุนร่วมกว่า 170 ล้านบาท มุ่งเดินหน้า 2 เรื่องใหญ่ (ชีวเวชภัณฑ์ และสาหร่ายเซลล์เดียว) ตอบโจทย์อุตสาหกรรม

(7 มิ.ย. 66)  อว. - ประเทศไทย โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ สหราชอาณาจักร (UK) โดย ม.เคนท์ (University of Kent) และ ม.ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (University College London: UCL) แถลงข่าวความร่วมมือวิจัยไทย-UK ในเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสุขภาพสัตว์: จากการวิจัยสู่การประยุกต์ใช้” ใน 3 โครงการวิจัย ทุนร่วมกว่า 170 ล้านบาทจากรัฐบาล UK และไทย เพื่อดำเนินงานใน 2 เรื่องใหญ่ ได้แก่ ชีวเวชภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ และเทคโนโลยีสาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อการป้องกันโรคในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมชีวเวชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปศุสัตว์ ทั้งในระดับประเทศและอาเซียน พร้อมมีส่วนสำคัญช่วยยกระดับสุขภาพและสุขอนามัยสัตว์โดยรวมให้แก่ประเทศไทย เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ยกระดับสาธารณสุข และสร้างศักยภาพนักวิจัยไทย โดยมี ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. ร่วมด้วย Mr. David Thomas อุปทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. และ ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา รองผู้อำนวยการไบโอเทค ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยในโครงการร่วมในงาน
02-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%99ในภาพรวมของความร่วมมือระหว่างไทยและ UK ศาสตราจารย์โคลิน โรบินสัน (Prof. Dr. Colin Robinson) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเคนต์ สหราชอาณาจักร ระบุว่า ประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปศุสัตว์ ปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ที่มีประสิทธิภาพรวมถึงมาตรการป้องกันเพื่อรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์และการจัดการโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมดังกล่าวในภูมิภาคอาเซียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ จึงเล็งเห็นว่าความร่วมมือด้านวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักร มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีและสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในด้านสุขภาพสัตว์ โดยเฉพาะการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุสำหรับสัตว์

"เทคโนโลยีสาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อการป้องกันโรคในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง"

โดยความร่วมมือในการวิจัยเรื่องแรก เป็นผลงานที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์แล้ว คือ เทคโนโลยีสาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อการป้องกันโรคในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากจากการระบาดของเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต ซึ่งสร้างความสูญเสียมากถึง 60% ของผลผลิตในประเทศ และยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย โดยการติดเชื้อไวรัส แม้ว่าจะไม่ระบาดรุนแรงเหมือนช่วง 20 - 30 ปีที่แล้ว แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายยกบ่ออยู่อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยเฉพาะการระบาดของโรคตัวแดงดวงขาว (White Spot Syndrome Virus-WSSV) และโรคหัวเหลือง (Yellow Head Virus-YHV) ที่ยังมีการรายงานการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่องในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย

ศ. โคลิน โรบินสัน กล่าวในเรื่องนี้ว่า Kent ร่วมกับ UCL และไบโอเทค ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการใช้สาหร่ายเซลล์เดียว (microalgal-based platform) เพื่อการป้องกันโรคในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านโครงการร่วมวิจัย ได้แก่ โครงการ Establishment of RNAi-based algal technology for sustainable disease control in shrimp cultivation (ได้รับทุนจาก สกสว. และ The Royal Society สหราชอาณาจักร จำนวน 74,000 ปอนด์ หรือราว 3.18 ล้านบาท) และโครงการ Development of novel microalgal-based systems for shrimp disease control in South East Asia (ได้รับทุนจาก The Royal Society สหราชอาณาจักร จำนวน 219,404 ปอนด์ หรือราว 9.44 ล้านบาท)
03-%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%20%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1
ด้านนักวิจัยไทย ดร.วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรม หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง ไบโอเทค เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้พัฒนาระบบที่ใช้เทคโนโลยีการแสดงออกของยีนแบบใหม่ในการผลิตอาร์เอ็นเอสายคู่ (double-stranded RNA; dsRNA) โดยใช้คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายเซลล์เดียวแบบไม่มียีนต้านยาปฏิชีวนะปนเปื้อนสำหรับใช้ผสมในอาหารเลี้ยงกุ้ง ซึ่งจากงานวิจัยที่ผ่านมาทีมวิจัยไบโอเทคได้ทำงานร่วมกับทีมจาก Kent และ UCL โดยสามารถผลิตอาร์เอ็นเอสายคู่ในคลอโรพลาสต์ของสาหร่ายเซลล์เดียวนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งไวรัสหัวเหลืองและไวรัสตัวแดงดวงขาว ผ่านการให้ผงสาหร่ายลูกผสมเป็นอาหารเสริมแก่ลูกกุ้ง โดยผลวิจัยล่าสุด พบว่า การให้อาหารผสมสาหร่ายเซลล์เดียวลูกผสมช่วยรักษาอัตราการรอดชีวิตของลูกกุ้งขาวจากการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวได้ถึง 70% โดยเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในการป้องกันการเกิดโรคไวรัสและโรคที่เกิดจากเชื้อก่อโรคชนิดอื่นได้ทั้งในประเทศไทยและระดับภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ เครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสาหร่ายอาหารเสริมที่ผลิตวัคซีนรีคอมบิแนนท์ เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคให้กับทั้งกุ้งและปลา มีส่วนช่วยในการนำอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของประเทศไทยกลับเข้ามาสู่การเป็นผู้นำการผลิตสัตว์น้ำของโลกได้อีกครั้งหนึ่ง
04-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A5%20%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80ด้าน ศาสตราจารย์ซอล เพอร์ตัน (Prof. Saul Purton) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน และผู้อำนวยการ Algae-UK กล่าวว่า ในโครงการร่วมวิจัยนี้ได้ร่วมกับ ศ. โคลิน โรบินสัน พัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมซึ่งสามารถทำให้คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายเซลล์เดียวผลิตสารชีวโมเลกุล เช่น dsRNA และโปรตีนสำหรับผลิตวัคซีน โดยเทคโนโลยีนี้มีความแม่นยำ ใช้งานง่าย และมีราคาต้นทุนต่ำ ทั้งสองกลุ่มทำงานร่วมกับนักวิจัยไบโอเทคในการพัฒนาวัคซีนสัตว์ต้นทุนต่ำโดยใช้แพลตฟอร์มสาหร่ายเซลล์เดียว เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ด้วยความเชี่ยวชาญที่ผสมผสานกันระหว่างทีมจากสหราชอาณาจักรและทีมจากประเทศไทย การใช้สาหร่ายเซลล์เดียวต้านไวรัสในอาหารสัตว์น้ำเพื่อควบคุมโรคได้สร้างกระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืนในอนาคต

"ชีวเวชภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์"

และอีกหนึ่งความร่วมมือวิจัยระหว่างประเทศคือ ชีวเวชภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงการวิจัย ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวเวชภัณฑ์และวัคซีนสัตว์สำหรับสัตว์ในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ โครงการสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านการผลิตชีวเวชภัณฑ์และวัคซีน โดยข้อมูลปัจจุบัน พบว่า อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีผู้ประกอบการเกือบ 150,000 ราย และยังมีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก “วัคซีนสัตว์” จึงนับเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมโรคจากไวรัสที่รุนแรงในสัตว์ แต่วัคซีนสำหรับสุกรในประเทศไทยเกือบทั้งหมดพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งราคาแพงและมีประสิทธิภาพน้อยกว่า เนื่องจากสายพันธุ์ของไวรัสในท้องถิ่นนั้นแตกต่างกัน ฉะนั้น เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์และชีวภัณฑ์ในประเทศไทยและประเทศในอาเซียน สถาบันชั้นนำในสหราชอาณาจักร ประกอบด้วย Kent, UCL, Imperial College, London School of Hygiene & Tropical Medicine และสถาบันชั้นนำในประเทศไทย คือ ไบโอเทค และ มจธ. จึงได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการร่วมวิจัยหัวข้อการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวเวชภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและประเทศในอาเซียน ที่ได้รับทุนวิจัยจำนวน 3.9 ล้านปอนด์ (160 ล้านบาท) จาก The Global Challenges Research Fund (GCRF) สหราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 4.5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2565)

ในผลงานนี้ ศ. โคลิน โรบินสัน กล่าวว่า โครงการวิจัยมุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิตโปรตีนรีคอมบิแนนท์ในปริมาณและคุณภาพที่จำเป็นสำหรับการใช้ผลิตยาชีววัตถุที่คล้ายคลึง (biosimilar) สำหรับมนุษย์และวัคซีนและยาชีววัตถุ (vaccine and biotherapeutics) สำหรับสุกรที่มีราคาต้นทุนต่ำ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง โดยขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ เช่น การพัฒนาเซลล์ที่ผลิตโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนถึงปลายน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าเวชภัณฑ์สามารถผ่านมาตรฐานสากลได้
ได้
08-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%20(1)09-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%20(2)
สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปศุสัตว์ ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ หัวหน้าทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค เปิดเผยว่า ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการผลิตต้นแบบของวัคซีนไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 (PCV2d) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสก่อโรค และเป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร โดยใช้การหมักแบคทีเรียและกระบวนการทำบริสุทธิ์ขั้นตอนเดียว ขยายขนาดได้ถึง 30 ลิตร ให้ผลคงที่ทั้งในห้องปฏิบัติการที่สหราชอาณาจักรและไทย ผลการทดสอบเบื้องต้นในสุกร พบว่า มีความปลอดภัยและอยู่ระหว่างประเมินประสิทธิภาพความคุ้มโรคในสัตว์ นอกจากนี้ยังได้เริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตอินเตอร์เฟอรอนสุกรจากการหมักยีสต์ลูกผสม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการจัดการสุขภาพสัตว์ในฟาร์มในอนาคต เช่น เป็นสารเสริมภูมิคุ้มกัน หรือเป็นยาฉุกเฉินเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัส โดยมีผลการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการจากโครงการเป็นที่น่าพอใจ ได้รับทุนวิจัยต่อยอดเพื่อการผลิตในระดับใหญ่ขึ้นจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในปี 2565
06-%E0%B8%9C%E0%B8%A8.%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%20%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%20%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%98
ด้าน ผศ.ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวเสริมว่า นอกจากการพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีนวัคซีนสำหรับสัตว์และชีวภัณฑ์ในประเทศไทยแล้ว โครงการยังได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมชีววัตถุในประเทศไทย จึงส่งเสริมการฝึกอบรมตลอดระยะเวลาโครงการ ผ่านการทำวิจัยร่วม ณ หน่วยงานเครือข่าย รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นด้านกระบวนการผลิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก the Royal Academy of Engineering, Newton Fund, สหราชอาณาจักร ภายใต้โครงการ Establishing a bioprocess workforce in Thailand to deliver affordable biological medicines through biomanufacturing education and industrial-research integration (200,000 ปอนด์ หรือราว 8.6 ล้านบาท) โดยมีความร่วมมือกับ UCL ซึ่งหลักสูตรอบรมนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมชีววัตถุ เป็นการอบรมแบบภาคปฏิบัติพร้อมกรณีศึกษาให้กับบุคลากรที่ทำงานด้านชีววัตถุจำนวน 270 คน จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานต่างประเทศ มากกว่า 15 แห่ง ในปี 2565

No comments

Powered by Blogger.