Header Ads

เบาหวานอย่าเบาใจ... หนุน “ดิจิทัลโซลูชันเฉพาะบุคคล iPDM” ยกระดับดูแลสุขภาพผู้ป่วย

บริษัทโรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) ร่วมรศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ให้ความรู้ด้านโรคเบาหวาน ภายใต้หัวข้อ “เบาหวานอย่าเบาใจ ขับเคลื่อนการดูแลเบาหวานในประเทศไทยด้วยดิจิทัลโซลูชัน” สนับสนุนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง “การดูแลโรคเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุคคล (iPDM)” ดึงเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจืทัลมาใช้ช่วยในการเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ผสานการดูแลรักษาของแพทย์ผู้เชียวชาญ เพื่อช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โรคเบาหวานจัดเป็น 1 ใน 5 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในประเทศไทย มีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 1 ใน 10 คน หรือประมาณ 6.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และ 40% ไม่ทราบว่าตัวเองป่วย สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการคัดกรองเบื้องต้น การติดตามผล และการเข้าถึงการรักษาที่เท่าเทียมและทันสมัย และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไทยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม เนื่องจาก ช่องว่างในการคัดกรองและการรักษา ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศไทยเผชิญความท้าทายในการเข้าถึงยารักษาและเทคโนโลยีติดตามอาการใหม่ๆ อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท

นายมิไฮ อีริเมสซู (Mihai Irimescu) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โรคเบาหวานยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญที่สุด ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จากข้อมูล Diabetes Atlas 2025 โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF) ระบุว่า ประมาณ 11.1% ของผู้ใหญ่ชาวไทยอายุ 20 ถึง 79 ปี หรือราว 6.5 ล้านคน กำลังเผชิญกับโรคเบาหวาน ก่อให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจสูงถึงเกือบ 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 9.7% ของ GDP ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่เพียงสถิติ แต่สะท้อนถึงชีวิตจริงของผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในแต่ละวัน ภายในปี 2050 คาดว่าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยเบาหวานเกือบ 853 ล้านคน โดย20% อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้บริหารของโรชชี้ว่า การวินิจฉัยโรคมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการแพทย์มากถึง 70% แต่กลับได้รับงบประมาณเพียง 2–3% ของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข โรชจึงมุ่งมั่นผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญนี้และผลักดันพันธกิจในการส่งมอบโซลูชันการวินิจฉัยที่มีความสำคัญ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจคัดกรองเบื้องต้น ไปจนถึงการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง โดยเชื่อว่าการดูแลผู้ป่วยจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อแพทย์เข้าใจผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และเป็นรายบุคคล

ทั้งนี้แนวทางสำคัญของโรช เรียกว่า “การจัดการเบาหวานแบบเฉพาะบุคคลอย่างบูรณาการ (iPDM)” ซึ่งรวมเอาอุปกรณ์ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (BGM) ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันดิจิทัล สำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และทีมดูแลสุขภาพแบบสหสาขาเข้าด้วยกันในระบบที่มีโครงสร้างและนำไปใช้ได้จริง

ด้านรศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยฯกล่าวว่า “หลายประเทศ รวมถึงไทย กำลังเผชิญวิกฤตเบาหวาน มีผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลหรือกลุ่มเปราะบาง การขาดแคลนเครื่องมือและยาใหม่ๆ เป็นอุปสรรคสำคัญ โครงการนำร่องแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีที่ช่วยติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องแบบเรียลไทม์ (CGM) และแอปการจัดการภาวะเบาหวานสามารถยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและควบคุมโรคได้ดีขึ้น หากเราเร่งลงทุนและขยายการเข้าถึง เทคโนโลยีเหล่านี้จะเชื่อมโยงความรู้ทางการแพทย์กับชีวิตจริง ทำให้ผู้ป่วยจัดการโรคได้ด้วยตนเองและมีสุขภาพที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งของไทยนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้

“การนำอุปกรณ์เครื่องมือดิจิทัลมาใช้ช่วยให้ผู้ป่วยรู้ภาวะโรคของตัวเอง มีข้อมูลให้แพทย์ ช่วยลดภาระแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย ทำให้วางแผนรักษาดูแลผู้ป่วยได้ดี”

นอกจากนี้ยังมีกรณีศึกษาจากอินเดียที่ Jothydev’s Diabetes Research Centre ได้ใช้ระบบดูแลเบาหวานทางไกล (DTMS) ด้วยการติดตามระดับน้ำตาลและการโค้ชแบบเฉพาะบุคคล โดยใช้งบเพียงเดือนละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการดูแลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และคุ้มค่าต่อการลงทุน

ส่วนข้อมูลจากศาสตราจารย์จูเลียนา ชาน ผู้อำนวยการสถาบันโรคเบาหวานและโรคอ้วนแห่งมหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง ยังพบว่า โครงการศึกษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งศึกษาประสิทธิภาพของการดูแลผ่านระบบทางไกล แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ใช้เทคโนโลยีสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่ากลุ่มที่จดบันทึกด้วยกระดาษ ทั้งในระยะ 12 และ 24 สัปดาห์  

ในขณะที่มีการศึกษาในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ที่มีการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลร่วมกับแอปสุขภาพบนมือถือพบว่า ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการโรคเบาหวานได้ดีขึ้นเช่นกัน

“CGM ได้ปฏิวัติการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แต่ในประเทศรายได้ต่ำยังมีปัญหาในการเข้าถึงเครื่องมือ ความรู้ และการสนับสนุนที่จำเป็น หากจะอุดช่องว่างนี้ เราต้องสร้างความตระหนัก ส่งเสริมการคัดกรองเชิงรุก และดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคล โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับการรักษาจริง

 

 

 

 

 

 

 

No comments

Powered by Blogger.