ครบรอบ 10 ปี เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สสส. สานพลัง สธ.-กทม.-ภาคี เตรียมจัดมหกรรมลดเค็ม เปิดพื้นที่ ช้อป ชิม อาหารเพื่อสุขภาวะ
ครบรอบ 10 ปี เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สสส. สานพลัง สธ.-กทม.-ภาคี เตรียมจัดมหกรรมลดเค็ม เปิดพื้นที่ ช้อป ชิม อาหารเพื่อสุขภาวะ แอน ทองประสม แพนเค้ก เขมนิจ พีท ทองเจือ ตบเท้าเข้าร่วมกระตุ้นเตือนภัยคนติดเค็ม ภายใต้คำขวัญ “เค็มน้อย อร่อยได้” 4-6 ธ.ค. ที่เซ็นทรัลเวิลด์
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2566 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นางสาวนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมของคนไทย พบบริโภคเฉลี่ย 3,636 มก./วัน เกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำเกือบ 2 เท่า องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมลง 30% หรือมุ่งเป้าปรับพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมไม่เกิน 700-800 มก./วัน ภายในปี 2568 ที่ผ่านมา สสส. ได้ร่วมกับ WHO กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประเทศไทย ปี 2559-2568” สอดรับมติการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปี 2558 เพื่อลดภาระโรคจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และลดค่ารักษาพยาบาล ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติ
“กลไกการทำงานอย่างเข้มแข็ง เกิดจากการสานพลังผลักดันการป้องกันโรค NCDs ผ่านการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ กำหนดมาตรฐานและออกกฎระเบียบข้อบังคับ รวมถึงพัฒนานวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น 1.ผลักดันให้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรค NCDs 2.จัดทำยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในไทย ปี 2559-2568 3.นวัตกรรมเครื่องตรวจสอบความเค็ม 4.ขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม ช่วยสร้างกติกากลางให้กับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร 5.สื่อสารรณรงค์แคมเปญ ลดเค็ม ลดโรค ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคโซเดียมในแนวทางที่ดีขึ้น จาก 4,351.69 มิลลิกรัมต่อวัน ในปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน ในปี 2562” นางสาวนิรมล กล่าว
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า การขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียม เริ่มตั้งแต่ปี 2555 ก่อนการมียุทธศาสตร์ชาติ โดย สสส. จัดตั้ง “เครือข่ายลดบริโภคเค็ม” ให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข WHO ประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักงานที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม การวิจัย และการรณรงค์เตือนภัยผ่านช่องทางต่างๆ ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม ได้จัดมหกรรมแสดงผลการดำเนินงานความร่วมมือในการดำเนินงานลดการบริโภคเกลือและโซเดียมที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นสังคมให้ตระหนักเรื่องการลดบริโภคเค็ม เข้าถึงประโยชน์ของการลดบริโภคเค็มและโซเดียม และสร้างการมีส่วนร่วม เพิ่มการรับรู้ ความเข้าใจของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในวันที่ 4-6 ธ.ค. 2566 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
น.อ.หญิง พญ.วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี เลขาธิการเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า นิทรรศการครบรอบ 10 ปีเครือข่ายลดบริโภคเค็ม จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ “เค็มน้อย อร่อยได้” ภายในงานนอกจากจะมีการเสวนาหัวข้อโซเดียมเกินไป โรคภัยใกล้ตัว, โซเดียมเพชฌฆาตร้าย ทำลายสุขภาพ, Healthy Family โดยคุณพีท ทองเจือ และลูกสาว ยังมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่ถูกวิธี กินดีปลอดโรค โดยคุณแอน ทองประสม และโค้ช เชอรี่ พร้อมชมการสาธิตการปรุงอาหารเมนู เค็มน้อย อร่อยได้ โดยอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง และอาหารเพื่อสุขภาพจากนักโภชนาการและผู้ประกอบการร้านอาหารชื่อดัง ทั้งนี้ สามารถเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลดเค็ม ลดโรค
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2566 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นางสาวนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมของคนไทย พบบริโภคเฉลี่ย 3,636 มก./วัน เกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำเกือบ 2 เท่า องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมลง 30% หรือมุ่งเป้าปรับพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมไม่เกิน 700-800 มก./วัน ภายในปี 2568 ที่ผ่านมา สสส. ได้ร่วมกับ WHO กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประเทศไทย ปี 2559-2568” สอดรับมติการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปี 2558 เพื่อลดภาระโรคจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และลดค่ารักษาพยาบาล ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติ
“กลไกการทำงานอย่างเข้มแข็ง เกิดจากการสานพลังผลักดันการป้องกันโรค NCDs ผ่านการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ กำหนดมาตรฐานและออกกฎระเบียบข้อบังคับ รวมถึงพัฒนานวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น 1.ผลักดันให้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรค NCDs 2.จัดทำยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในไทย ปี 2559-2568 3.นวัตกรรมเครื่องตรวจสอบความเค็ม 4.ขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม ช่วยสร้างกติกากลางให้กับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร 5.สื่อสารรณรงค์แคมเปญ ลดเค็ม ลดโรค ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคโซเดียมในแนวทางที่ดีขึ้น จาก 4,351.69 มิลลิกรัมต่อวัน ในปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน ในปี 2562” นางสาวนิรมล กล่าว
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า การขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียม เริ่มตั้งแต่ปี 2555 ก่อนการมียุทธศาสตร์ชาติ โดย สสส. จัดตั้ง “เครือข่ายลดบริโภคเค็ม” ให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข WHO ประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักงานที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม การวิจัย และการรณรงค์เตือนภัยผ่านช่องทางต่างๆ ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม ได้จัดมหกรรมแสดงผลการดำเนินงานความร่วมมือในการดำเนินงานลดการบริโภคเกลือและโซเดียมที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นสังคมให้ตระหนักเรื่องการลดบริโภคเค็ม เข้าถึงประโยชน์ของการลดบริโภคเค็มและโซเดียม และสร้างการมีส่วนร่วม เพิ่มการรับรู้ ความเข้าใจของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในวันที่ 4-6 ธ.ค. 2566 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
น.อ.หญิง พญ.วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี เลขาธิการเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า นิทรรศการครบรอบ 10 ปีเครือข่ายลดบริโภคเค็ม จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ “เค็มน้อย อร่อยได้” ภายในงานนอกจากจะมีการเสวนาหัวข้อโซเดียมเกินไป โรคภัยใกล้ตัว, โซเดียมเพชฌฆาตร้าย ทำลายสุขภาพ, Healthy Family โดยคุณพีท ทองเจือ และลูกสาว ยังมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่ถูกวิธี กินดีปลอดโรค โดยคุณแอน ทองประสม และโค้ช เชอรี่ พร้อมชมการสาธิตการปรุงอาหารเมนู เค็มน้อย อร่อยได้ โดยอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง และอาหารเพื่อสุขภาพจากนักโภชนาการและผู้ประกอบการร้านอาหารชื่อดัง ทั้งนี้ สามารถเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลดเค็ม ลดโรค
No comments