มูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ เผยผลงานวิจัยและพัฒนา พร้อมต่อยอดสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม
มูลนิธิทันตนวัตกรรม เดินหน้าสานต่อแผนงานด้านงานวิจัยและพัฒนา พร้อมต่อยอดสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม สร้างโอกาสให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากงานวิจัยและพัฒนาที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากงานวิจัยแล้วหลายชนิด
นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์เปิดเผยถึง การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในระยะต่อไปว่า ยังให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและพัฒนา ตลอดจนต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากงานวิจัยและพัฒนาที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศให้มากที่สุด
ที่ผ่านมา มีผลิตผลซึ่งเกิดจากการวิจัยและพัฒนาของมูลนิธิฯ เช่น เจลลี่โภชนานวัตกรรมอาหาร อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ อันเกิดจากภาวการณ์บริโภคอาหารได้อย่างไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล หรือวุ้นชุ่มปาก สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ที่ต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายแสง บริเวณศีรษะ หรือลำคอ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมน้ำลาย ปริมาณและคุณภาพของน้ำลายลดลง หรือผู้ที่รับประทานยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลทำให้เกิดภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย รวมไปถึงผู้สูงวัยที่ต่อมน้ำลายเสี่อมตามอายุ รากฟันเทียมไทย PRK ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย มีผลการรักษามากว่า 10 ปี ผลิตด้วยวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลภายใต้ระบบการจัดการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสการรักษาทางทันตกรรมจากการสูญเสียฟัน ในราคาที่จับต้องได้ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อจากหญ้าแฝก หนึ่งในโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งที่ผ่านมาใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นหลัก ปัจจุบันนี้มูลนิธิฯ ได้นำประโยชน์จากรากมาผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคฟันผุ โรคติดเชื้อในคลองรากฟัน โรคปริทันต์และยับยั้งเชื้อราในช่องปาก โดยสามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้แล้ว Lot. แรก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ภายใต้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ ดีไอเอฟ ดอยตุง เวติเวอร์ รีเฟรชชิ่ง เมาท์วอช และผลิตภัณฑ์ได้รับเลขที่ใบรับรองการจดแจ้ง จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว ผลิตภัณฑ์สารผนึกหลุมร่องฟันชนิดเรซิน (Resin Pit and Fissure Sealant) ที่ได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จแล้ว และกำลังเตรียมการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงการป้องกันโรคฝันผุได้มากยิ่งขึ้นเลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวต่อว่า เราให้ความสำคัญกับวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็น 1 ใน 3 ภารกิจของมูลนิธิ ซึ่งยังมีหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ นวัตกรรมอาหารต้านมะเร็งช่องปาก (เจลลี่โภชนาผสมสาร PEITC) ที่จะสามารถช่วยคงสภาพรอยโรคไม่ให้ลุกลามได้ การต่อยอดวิจัยพัฒนานวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต อาหารวัตถุประสงค์พิเศษสำหรับเด็ก การผลิตฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ การผลิตแผ่นดามกระดูกและสกรูยึดตรึงกระดูกหักบริเวณศีรษะและใบหน้าสำหรับมนุษย์ การผลิตเครื่องสแกนฟันในช่องปาก แบบ 3 มิติ (Oral scanner) การผลิต Bone-Anchored Maxillary Protraction (BAMP) เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับดึงขากรรไกร สำหรับคนไข้ปากแหว่างเพดานโหว่ และการผลิตกระดูกเทียม รวมทั้งเรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งไว้กับศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ประธานกรรมการ มูลนิธิทันตนวัตกรรมและทันตแพทย์ประจำพระองค์ว่า ผู้สูงอายุอย่างเรามีจำนวนมาก ทันตแพทย์ต้องช่วยดูแล ซึ่งผู้สูงอายุปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 14 ล้านคน อันนี้ก็เป็นโจทย์สำคัญที่มูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายจะต้องหาวิธีที่จะดำเนินการให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นได้รับการดูแลรักษาทางด้านทันตกรรมให้เหมาะสม มูลนิธิฯ ก็จะมีแผนการจัดตั้ง Training Center ศรท.9 เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทันตกรรมกับบุคลาการทางทันตกรรม ให้มีความรู้ความสามารถนำไปส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้มีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นต่อไป
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @dent_in_found โทรศัพท์ 062-549-8146,
02-3182351-5 ต่อ 1403,1416 หรือติดตามได้ที่
Website: www.dent-in-found.org
Facebook: https://www.facebook.com/dentalinnovation40
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCWWuHSnPKN6UmXHK7J6FDQw
ที่ผ่านมา มีผลิตผลซึ่งเกิดจากการวิจัยและพัฒนาของมูลนิธิฯ เช่น เจลลี่โภชนานวัตกรรมอาหาร อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ อันเกิดจากภาวการณ์บริโภคอาหารได้อย่างไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล หรือวุ้นชุ่มปาก สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ที่ต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายแสง บริเวณศีรษะ หรือลำคอ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมน้ำลาย ปริมาณและคุณภาพของน้ำลายลดลง หรือผู้ที่รับประทานยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลทำให้เกิดภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย รวมไปถึงผู้สูงวัยที่ต่อมน้ำลายเสี่อมตามอายุ รากฟันเทียมไทย PRK ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย มีผลการรักษามากว่า 10 ปี ผลิตด้วยวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลภายใต้ระบบการจัดการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสการรักษาทางทันตกรรมจากการสูญเสียฟัน ในราคาที่จับต้องได้ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อจากหญ้าแฝก หนึ่งในโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งที่ผ่านมาใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นหลัก ปัจจุบันนี้มูลนิธิฯ ได้นำประโยชน์จากรากมาผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคฟันผุ โรคติดเชื้อในคลองรากฟัน โรคปริทันต์และยับยั้งเชื้อราในช่องปาก โดยสามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้แล้ว Lot. แรก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ภายใต้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ ดีไอเอฟ ดอยตุง เวติเวอร์ รีเฟรชชิ่ง เมาท์วอช และผลิตภัณฑ์ได้รับเลขที่ใบรับรองการจดแจ้ง จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว ผลิตภัณฑ์สารผนึกหลุมร่องฟันชนิดเรซิน (Resin Pit and Fissure Sealant) ที่ได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จแล้ว และกำลังเตรียมการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงการป้องกันโรคฝันผุได้มากยิ่งขึ้นเลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวต่อว่า เราให้ความสำคัญกับวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็น 1 ใน 3 ภารกิจของมูลนิธิ ซึ่งยังมีหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ นวัตกรรมอาหารต้านมะเร็งช่องปาก (เจลลี่โภชนาผสมสาร PEITC) ที่จะสามารถช่วยคงสภาพรอยโรคไม่ให้ลุกลามได้ การต่อยอดวิจัยพัฒนานวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต อาหารวัตถุประสงค์พิเศษสำหรับเด็ก การผลิตฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ การผลิตแผ่นดามกระดูกและสกรูยึดตรึงกระดูกหักบริเวณศีรษะและใบหน้าสำหรับมนุษย์ การผลิตเครื่องสแกนฟันในช่องปาก แบบ 3 มิติ (Oral scanner) การผลิต Bone-Anchored Maxillary Protraction (BAMP) เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับดึงขากรรไกร สำหรับคนไข้ปากแหว่างเพดานโหว่ และการผลิตกระดูกเทียม รวมทั้งเรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งไว้กับศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ประธานกรรมการ มูลนิธิทันตนวัตกรรมและทันตแพทย์ประจำพระองค์ว่า ผู้สูงอายุอย่างเรามีจำนวนมาก ทันตแพทย์ต้องช่วยดูแล ซึ่งผู้สูงอายุปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 14 ล้านคน อันนี้ก็เป็นโจทย์สำคัญที่มูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายจะต้องหาวิธีที่จะดำเนินการให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นได้รับการดูแลรักษาทางด้านทันตกรรมให้เหมาะสม มูลนิธิฯ ก็จะมีแผนการจัดตั้ง Training Center ศรท.9 เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทันตกรรมกับบุคลาการทางทันตกรรม ให้มีความรู้ความสามารถนำไปส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้มีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นต่อไป
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @dent_in_found โทรศัพท์ 062-549-8146,
02-3182351-5 ต่อ 1403,1416 หรือติดตามได้ที่
Website: www.dent-in-found.org
Facebook: https://www.facebook.com/dentalinnovation40
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCWWuHSnPKN6UmXHK7J6FDQw
No comments